✨ เอกชนโคราชจับมือภาครัฐ ขับเคลื่อนปัญหาสิ่งแวดล้อม“โคราชเมืองเป็นกลางทางคาร์บอน 2567” (Korat Carbon Neutrality Expo 2024)
เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2567 ณ เทอมินอล21 โคราช สภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครราชสีมา ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) จัดงาน “โคราช เมืองเป็นกลางทางคาร์บอน ประจำปี 2567 (Korat Carbon Neutrality 2024)” ขับเคลื่อนปัญหาสิ่งแวดล้อม ตามเป้าหมายของประเทศไทย ที่จะเป็นประเทศที่มีคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ภายในปี พ.ศ. 2608 (ค.ศ. 2065)
.
นายทวี ปิยะพัฒนา รองประธานอาวุโสสภา อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ประธานเปิดงานฯ กล่าวว่า ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมเป็นความเสี่ยงของโลกในระยะยาวทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งในอนาคตเราอาจจะได้พบกับ การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศแบบสุดขั้ว , การเปลี่ยนแปลงของระบบโลกด้านสิ่งแวดล้อม , ความหลากหลายทางชีวภาพที่สูญหายและระบบนิเวศพังทลาย , ทรัพยากรธรรมชาติขาดแคลน
ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เรากำลังประสบอยู่ในปัจจุบันที่สำคัญ ได้แก่ ปัญหาการลดลงของทรัพยากรธรรมชาติ ปัญหาสารพิษ และปัญหาของระบบนิเวศ ซึ่งปัญหาที่สำคัญเหล่านี้มาจากปัญหาย่อยๆหลายปัญหา เช่น มลพิษทางน้ำ มลพิษทางอากาศ มลพิษทางเสียง ขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล เป็นต้น
Net Zero เป้าหมายที่หลายประเทศให้ความสำคัญ รวมถึงประเทศไทยของเรา ที่ได้ประกาศเป้าหมายสำคัญจะเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2050 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2065 สำหรับภาคอุตสาหกรรม ซึ่งขับเคลื่อนโดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยนั้น มีแนวนโยบายในการขับเคลื่อน BCG สู่เป้าหมาย SDGs เปลี่ยนความกดดันทางสิ่งแวดล้อม >> “เป็นโอกาสทางธุรกิจ” โดยให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมที่ตอบโจทย์ด้านสิ่งแวดล้อม อาทิ •สร้างมูลค่าเพิ่มสู่อุตสาหกรรมเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) อาทิ การส่งเสริมในอุตสาหกรรมพลังงานชีวภาพ (เอทานอล, ไฟฟ้าชีวมวล), วัสดุชีวภาพ (เม็ดพลาสติกชีวภาพ) , ส่วนผสมในอาหารเชิงฟังก์ชั่น (สารปรุงรส, อาหารสัตว์), เครื่องสำอาง, ยาชีวภัณฑ์ , Circular Economy สภาอุตสาหกรรมฯ กำลังผลักดัน โครงการ Upcycling Plastic Waste โดยการนำขยะมาแปรรูป เพิ่มมูลค่าให้กลายเป็นสิ่งใหม่ด้วยนวัตกรรม , Green Economy : ภาคอุตสาหกรรมการผลิตมุ่งสู่ความยั่งยืน ผลักดันผู้ประกอบการขอการรับรอง eco Product เพื่อรองรับการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ และภาคเอกชน และส่งเสริมโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Factory)
สำหรับการจัดงาน “โคราชเมืองเป็นกลางทางคาร์บอน ประจำปี 2567” (KORAT CARBON NEUTRALITY EXPO 2024) ในครั้งนี้ เป็นครั้งที่ 2 แล้ว ถือเป็นกิจกรรมที่ช่วยขับเคลื่อนและผลักดันให้จังหวัดนครราชสีมา เป็นจังหวัดที่มีคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ตามนโยบายประเทศ และนโยบายของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งการป้องกันแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม เป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องช่วยกันปัญหาที่ทุกฝ่ายต้องร่วมกันตระหนัก และเห็นความสำคัญ ลงมือทำกันอย่างจริงจังทั้งภาครัฐและเอกชน ภาคประชาชน ภาคเอกชน เราเองตระหนักเรื่องนี้ เป็นอย่างมาก พร้อมที่จะร่วมแรงร่วมใจขับเคลื่อนในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว กับทางภาครัฐ อย่างเต็มที่ เต็มกำลังที่สุด เพื่อเห็นสิ่งแวดล้อมเราดียิ่งๆขึ้น
.
นางธิดารัตน์ รอดอนันต์ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า ปัจจุบัน Carbon Footprint นับเป็นตัวชี้วัดสำคัญ สำหรับการดำเนินกิจกรรมหรือการกระทำต่าง ๆ ของมนุษย์เกือบทุกขั้นตอน เพื่อที่จะควบคุมไม่ให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนนั่นเองCarbon Footprint คือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดที่ถูกปล่อยออกมาจากกิจกรรมของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ชีวิตประจำวัน การคมนาคมขนส่ง การผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค ฯลฯ การดำเนินชีวิตประจำวันของเราทุกคน หรือแม้กระทั่งของเสียที่เกิดจากอาหารในแต่ละวัน ล้วนแต่ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งสิ้น
เป้าหมายของประเทศไทย ที่จะเป็นประเทศที่มีคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ภายในปี พ.ศ. 2608 (ค.ศ. 2065) ซึ่งประเทศไทยถือเป็นหนึ่งในประเทศกำลังพัฒนาประเทศแรก ๆ ของโลก ที่ตั้งเป้าหมายและกรอบมาตรฐานอย่างชัดเจนในการดำเนินเรื่องการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทำให้ต้องมีการดำเนินการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ สภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครราชสีมา ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) จัดงานประชุม “โคราช เมืองเป็นกลางทางคาร์บอน ประจำปี 2566 (Korat Carbon Neutrality 2023)” เพื่อให้หน่วยงานภาคอุตสาหกรรมที่เป็นสมาชิกภายในสภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครราชสีมา ผู้ประกอบการธุรกิจ เครือข่ายภาครัฐ ภาคประชาชน และเครือข่ายความร่วมมือในต่างประเทศ ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อหาวิธีและวางแผนที่จะขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ซึ่งในงานนี้จะเน้นทั้งในด้านองค์ความรู้คาร์บอนฟุตพรินท์องค์กร ซึ่งเกี่ยวกับการจัดการปล่อยคาร์บอน และในด้านคาร์บอนเครดิตซึ่งเกี่ยวกับโครงการลดการปลดปล่อยหรือการดูดกลับคาร์บอน รวมทั้งองค์ความรู้เกี่ยวกับใบรับรองเครดิตการผลิตพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Certificate : REC)